
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาแว มะแส
เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน การพัฒนาสังคมชนบทและสังคมเกษตร ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบทและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวิจัยเชิงคุณภาพในการพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนวคิดเรื่องความอยู่ดีมีสุขและการดำรงชีพในชนบทอย่างยั่งยืน ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา เคยร่วมทำงานวิจัยกับองค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ เช่น Wetlands International, International Centre for Living Aquatic Resources Management ฯลฯ มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ก่อนที่จะย้ายมาร่วมงานกับคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมท่านได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร และหัวหน้าภาควิชาพัฒนาการเกษตร ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นนักวิจัยร่วมผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ที่สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยเดียวกัน ด้วยความเชี่ยวชาญนี้เอง ท่านจึงได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่สำคัญหลายรื่อง เช่น “การวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายด้านเนื้อหารายการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” และ “ชุมชนศรัทธา: แนวทางการพัฒนาสังคมบนฐานศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้” นอกจากนี้ ผลงานเขียนบทความทางวิชาการที่น่าสนใจของท่าน ได้แก่ เรื่อง "Community Welfare Provision through Savings Groups: An Alternative Approach to Social Inequality Reduction in Rural Thailand" และเรื่อง “Wellbeing, Development and Social Change in Thailand”. สำหรับการบริการวิชาการแก่สาธารณะนั้น ท่านได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาวิชาการและกรรมการประจำโครงการให้กับ "โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคม ประจำปี พ.ศ.2555-2559 และหัวหน้าคณะที่ปรึกษา “โครงการติดตามประเมินผลแผนแม่บทและยุทธศาสตร์กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับปี พ.ศ.2555-2559 ระยะที่ 1 และระยะที่ 2” และท่านยังเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเกี่ยวกับกิจการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป)
สำเร็จการศึกษา
» ปริญญาเอก สาขา Social Science จาก University of Bath, UK
» ปริญญาโท สาขา Rural Development จาก University of Queensland, Australia
» ปริญญาตรี สาขาเกษตรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ไทย
ความเชี่ยวชาญ
» การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบทและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
» ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา
» ความอยู่ดีมีสุขกับการดำรงชีพในชนบท
» เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาชุมชน
เบอร์โทร : 0 2727 3112
แฟกซ์ : 0 2377 6764, 0 2375 0941
อีเมลล์ :