ag h

คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

ที่มาและความสำคัญ

     จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ในปี 2554 ที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมหาศาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้สรุปตัวเลขความเสียหายในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนล่าสุดอยู่ที่ ประมาณ 262,177 ล้านบาท (รายงานเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554) ซึ่งยังไม่คิดรวมความเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการรับมือที่เกิดมาจากความเสียหายด้านอื่นๆ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการรับมือที่เกิดมาจากความสับสนในข้อมูล จึงเป็นผลให้การแก้ปัญหาขาดความเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ สถาบันบัณฑิพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับต้นๆ ของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางในการตั้งรับและแก้ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานและเป็นแหล่งความรู้ที่ทำหน้าที่ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้านพิบัติภัยต่างๆ และหาแนวทางป้องกันและรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

 

วิสัยทัศน์

เป็นศูนย์ความรู้และข้อมูลด้านการป้องกันและจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย

 

พันธกิจ

  • วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
  • ร่วมกับองค์กรต่างๆ ดำเนินการสอน วิจัยและฝึกอบรม  เผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
  • ร่วมเป็นเครือข่ายกับองค์กรต่างๆ ในการจัดการและป้องกันภัยพิบัติ

 

การดำเนินงานของศูนย์

  1. วิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนา ข้อมูลและองค์ความรู้ทางด้านการจัดการและป้องกันภัยพิบัติ ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย แผ่นดินไหว/สึนามิ และสารเคมีอันตราย
  2. จัดทำบทความด้านภัยพิบัติทั้ง 5 ด้าน และปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับผู้ใช้งานทั้งหน่วยงานภาครัฐ แอกชน นักวิจัย เยาวชน และประชาชนทั่วไป
  3. จัดฝึกอบรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการจัดการและป้องกันภัยพิบัติที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
  4. จัดทำหนังสือ คู่มือ สื่อ และอุปกรณ์การเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการจัดการและป้องกันภัยพิบัติ ให้กับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และ ชุมชน รวมถึงประชาชนที่สนใจ

 

วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์

  1. เพื่อทำหน้าที่ประสานสาขาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดการวิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ โดยนำความรู้ หลักการ เทคนิควิธีการ และกรณีศึกษาของทั้งสองสาขาวิชาและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องไปประยุกต์กับการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะสหสาขาวิชา
  2. เพื่อทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติ พัฒนาตัวแบบแนวทฤษฎี รวบรวม เพิ่มพูน และจัดระเบียบองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ และการพัฒนาสังคมด้านอื่นๆ แล้วจัดทำระบบสารสนเทศ เอกสาร ตำรา คู่มือ สื่อ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเผยแพร่ ถ่ายทอด กับกลุ่มเป้าหมายทั้งนักศึกษาและผู้ปฏิบัติ
  3. เพื่อทำหน้าที่ประสานเครือข่ายทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการเรียนรู้และนำหลักการวิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติไปสู่การปฏิบัติให้เป็นจริง
  4. เพื่อสร้างนวัตกรรมด้วยการ บูรณาการศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การขับเคลื่อนนโยบายการจัดการภัยพิบัติและการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. เป็นที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน องค์กรมหาชน องค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กรระหว่างประเทศ

 

คณะกรรมการบริหารศูนย์

1. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
(ศ.ดร.วิสาขา ภู่จินดา)

ที่ปรึกษา
2. คณบดีคณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร                
(ผศ.ดร.จเร สิงหโกวินท์)
ประธาน
3. รศ.ดร.นรีนุช ดำรงชัย    กรรมการ
4. อาจารย์ ดร.ธันยานี  โพธิสาร    กรรมการ
5. ผศ.ดร.รุจิกาญจน์  นาสนิท     กรรมการ

6. รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง

กรรมการ
7. ผศ.ดร.หลี่ เหรินเหลียง     กรรมการ

8. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการ
(ศ.ดร.ศิวัช  พงษ์เพียจันทร์)

กรรมการและเลขานุการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ

 

 

ผศ.ดร.จเร สิงหโกวินท์
ประธาน
(คณบดีคณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร)

ศ.ดร.วิสาขา ภู่จินดา
ที่ปรึกษา
(รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ
บริการวิชาการ)

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
กรรมการและเลขานุการป้องกัน
และจัดการภัยพิบัติ
(ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกัน
และจัดการภัยพิบัติ)

รศ.ดร.นรีนุช ดำรงชัย
กรรมการ
(รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนา
คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร)

รศ.ดร.หลี่ เหรินเหลียง
กรรมการ
(รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร)

รศ.ดร.รุจิกาญจน์  นาสนิท
กรรมการ

อาจารย์ ดร.ธันยานี  โพธิสาร
กรรมการ

รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง
กรรมการ

นางสาวณัฐพร คลังนุช
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ผลงาน

  • โครงการประเมินระดับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ปี 2562
    งบประมาณ/แหล่งเงิน การเคหะแห่งชาติ 1,390,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 180 วัน

 

40

 

  • โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ 2562
    งบประมาณ/แหล่งเงิน กองงานผู้ตรวจราชการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 1,970,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 281 วัน

 

42

 

  • โครงการการเสริมสร้างและส่งเสริมการกำหนดนโยบายและกฎหมายสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ และวิธีการจัดการรีไซเคิลโลหะอย่างเหมาะสม
    งบประมาณ/แหล่งเงิน องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) 2,607,750 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 18 เดือน

 

12

 

  • โครงการพัฒนาการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพแห่งประเทศไทย
    งบประมาณ/แหล่งเงิน  กรมจัดหางาน 1,300,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 1 ปี

 

43

 

  • โครงการการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันสาธารณภัยในสถานศึกษา
    งบประมาณ/แหล่งเงิน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 17,450,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 28 มกราคม – 31 มีนาคม  2563

 

44

 

  • โครงการสำรวจการรับรู้ของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครต่อการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
    งบประมาณ/แหล่งเงิน สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 300,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 29 มิถุนายน – 31 สิงหาคม  2563     

 

45

 

  • โครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ปี 2563
    งบประมาณ/แหล่งเงิน การเคหะแห่งชาติ 1,800,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 21 เมษายน - 17 ตุลาคม  2563                

                       

46

 

  • โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ 2563
    งบประมาณ/แหล่งเงิน กองงานผู้ตรวจราชการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 1,785,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 29 พฤศจิกายน 2562 – 31 สิงหาคม 2563                    

 

  • โครงการการสร้างความตระหนักและเสริมสร้างความรู้ให้กับเยาวชนในการลดปัญหามลพิษฝุ่นละอองทางอากาศและแนวทางในการป้องกันสุขภาพ
    งบประมาณ/แหล่งเงิน งบแผ่นดิน 1,500,000.00 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2563

 

48

 

  • โครงการการกระจายตัวและการเปลี่ยนแปลงเชิงช่วงเวลาของสารอินทรีย์คาร์บอนและสารไอออนิกที่ละลายน้ำในฝุ่น PM2.5 ในชั้นบรรยากาศสำหรับประเทศไทย
    งบประมาณ/แหล่งเงิน งบแผ่นดิน 2,556,200.00 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564

 

  • โครงการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยสารอินทรีย์แอโรซอลจากการเผาไหม้ชีวมวลของประเทศไทย
    งบประมาณ/แหล่งเงิน งบแผ่นดิน 2,556,200.00 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564

 

  • โครงการการศึกษาองค์ประกอบเคมีในฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก 10 ไมครอนการศึกษาองค์ประกอบเคมีในฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก 10 ไมครอนบริเวณรอบท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังโดยใช้เทคนิค X-ray fluorescenceและ  IR spectroscopy
    งบประมาณ/แหล่งเงิน งบแผ่นดิน 2,556,200.00 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564

 

49

 

  • โครงการพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย
    งบประมาณ/แหล่งเงิน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2,104,900 บาท
    ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม/โครงการ 20   สิงหาคม  2563 - 19  พฤศจิกายน  2564 

 50

 

 

หน่วยงานของสถาบัน

ห้องสมุด

สำนักงานอธิการบดี

กองงานผู้บริหาร

หน่วยงานภายนอก

โครงการ