
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จเร สิงหโกวินท์
คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
ตำแหน่งบริหาร: คณบดี
ประวัติ
ดร. จเร สิงหโกวินท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา สังคมวิทยา จาก Goldsmiths College, University of London ในปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดร. จเร สิงหโกวินท์ ได้รับเชิญสอนวิชาเกี่ยวกับ ทฤษฎีเควียร์ สตรีนิยมฝรั่งเศส และ การเมืองเรื่องเพศวิถีและเควียร์ศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ระหว่างปี พ.ศ. 2564-2565 ดร. จเร สิงหโกวินท์ ร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดเวทีวิชาการทางสังคมเพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยแห่งอนาคต (Social Forum) ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สถานการณ์และความท้าทายของคนไทยในต่างประเทศในยุคหลัง covid-19” ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เพื่อสะท้อน ประเด็น ปัญหาที่ผู้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไทยเผชิญอยู่ นอกจากนี้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ได้จัดเวทีวิชาการทางสังคมเพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยแห่งอนาคต (Social Forum) ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อคุ้มครองและเสริมสร้างพลังสตรีและครอบครัว” และ “สิทธิความเสมอภาคของกลุ่ม LGBTQ กับความเป็นธรรมทางสังคม” นับเป็นการให้ความสำคัญต่อประเด็นเร่งด่วน เรื่อง นโยบายสาธารณะ และสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มชายขอบทางสังคม
ดร. จเร สิงหโกวินท์ ยังมีงานวิจัยร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในประเด็นร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อและวัฒนธรรม โดยศึกษาบทบาทของแนวคิดเสรีนิยมใหม่กับวัฒนธรรมประชานิยม ในการสร้างภาพแทนทางเพศในละครวายไทย และการวิเคราะห์กระบวนการสร้างวาทกรรม “สื่อเป็นกลาง” ในสังคมไทย ดร. จเร สิงหโกวินท์ ทำงานวิจัยครอบคลุมประเด็นด้าน อำนาจทับซ้อนและวัฒนธรรมศึกษา เพศสภาพและทฤษฎีเควียร์ เพศสภาพและการพัฒนา สื่อและวัฒนธรรมประชานิยม บทความวิจัยที่เสร็จสิ้นล่าสุด ชื่อว่า "การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในนโยบายการพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย: ความเท่าเทียมกับความแตกต่าง" มีกำหนดตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2568 ปัจจุบันกำลังดำเนินโครงการวิจัย 2 ปี ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในหัวข้อ "ปัจจัยและอุปสรรคในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในครอบครัวและการขับเคลื่อนการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในครอบครัว"
การศึกษา:
2010 - ปริญญาเอก สังคมวิทยา Goldsmiths College, University of London สหราชอาณาจักร
2003 - ปริญญาโท เพศวิทยา วัฒนธรรม และความทันสมัย Goldsmiths College, University of London สหราชอาณาจักร
1998 - ปริญญาตรีเกียรตินิยม ภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ทุนการศึกษา:
พ.ศ. 2545 - 2553 ทุนรัฐบาลไทย เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก ณ สหราชอาณาจักร
งานวิจัยที่สนใจ:
- สังคมวิทยา
- ทฤษฎีสังคม
- การพัฒนาทางเลือก
- สังคมวิทยาการเมืองและขบวนการขับเคลื่อนสังคม
- คนพลัดถิ่นและนโยบายสังคม
- การเมืองเรื่องอัตลักษณ์และอำนาจซ้อนทับ
- วัฒนธรรมและสื่อศึกษา
- เพศสภาพและเพศวิถีศึกษา
- ทฤษฎีเควียร์และการเมือง
- ไทยศึกษาและเอเชียศึกษา
ตำแหน่งบริหารที่ผ่านมา:
- ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนาสังคม
- คณบดี คณะภาษาและการสื่อสาร
- บรรณาธิการบริหาร วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร
- ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตภาษาและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ)
- รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะภาษาและการสื่อสาร
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะภาษาและการสื่อสาร
ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
วารสารวิชาการ
- Amponpeerapan, M., & Singhakowinta, J. (2022). Confrontations and exchanges of virtue ethics:
A study of dialectical friendship between Superman and Batman in comic books. Journal of Comics and Graphic Novels and Comic, 13(3), 408-431. https://doi.org/10.1080/21504857.2021.1925719
- Punkasirikul, P., & Singhakowinta, J. (2019). The analysis of linguistic features in annuity advertisements. Journal of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University, 36(1), 67-106.
- Singhakowinta, J. (2014). Media valorization of feminine beauty in Thai public discourse. Kasetsart Journal of Social Sciences, 35(2), 337-345.
- Singhakowinta, J. (2016). New lad: Re-packaged masculinity in men’s lifestyle magazines. NIDA Journal of Language and Communication, 21(28), 109-124.
- Singhakowinta, J. (2016). Reinventing sexual identities: Thai gay men’s pursuit of social acceptance. NIDA Journal of Language and Communication, 21(27), 14-40.
- Singhakowinta, J. (Forthcoming - 2024). Paradigm shift in gender equality development policy in Thailand: Parity versus differences. NIDA Case Research Journal, xx(x), xxx.
- Srivilas, C., & Singhakowinta, J. (2015). Gender differences in face concerns and behavioral responses to romantic jealousy. NIDA Journal of Language and Communication, 20(25),127-152.
- เกศราภรณ์ เขียวรอด และ จเร สิงหโกวินท์. (2563). ความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรสายปฏิบัติการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 79-95.
- จเร สิงหโกวินท์. (2556). สื่อฯ ตีตรา: การผลิตซ้ำมายาคติ เกย์ ในสังคมไทย. วารสาร NIDA ภาษาและการสื่อสาร, 18(20), 64-76.
- เชิดพงษ์ วาณิชยานนท์ และ จเร สิงหโกวินท์. (2566). ดัชนีอยู่เย็นเป็นสุขกับการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 25(2), 161-186.
บทความในหนังสือ
- จเร สิงหโกวินท์. (2560). ถอดผ้าขายร่างในละครสาววาย. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ), เมื่อร่างกายเป็นเพศ: อำนาจเสรีนิยมใหม่ ของเพศวิถีในสังคมไทย (หน้า 150-187). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
- จเร สิงหโกวินท์. (2565). สื่อในรัฐไทยกับมายาคติความเป็นกลาง. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ), ส่องอคติ เล่มที่ 1 (หน้า 337-392). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
รายงานการประชุมวิชาการ
- Duangthong, T., & Singhakowinta, J. (2019). Linguistic expression and sexual identity in Carol (2015). The 7th International Conference on Advancement of Development Administration 2018: Social Sciences and Interdisciplinary Studies Proceedings (pp. 1-11). Bangkok: National Institute of Development Administration.
- Singhakowinta, J. (2011). Politics of negotiations: Thai gay men’s appropriation of public space. The Asian Conference on Cultural Studies 2011 Proceedings (pp. 84-96). Osaka: The International Academic Forum.
- Singhakowinta, J. (2012). Communicating intimate equality: Thailand and the recognition of same-sex love. The 4th International Conference on Language and Communication 2012 Proceedings (pp. 334-339). Bangkok: Graduate School of Language and Communication.
- จเร สิงหโกวินท์. (2558). อคติทางสังคมกับการสร้างตัวละครเกย์. รายงานสืบเนื่องการประชุมระดับชาติ เนื่องในวาระครบรอบปีที่ 49 แห่งการสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (หน้า 500-519). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
- Zuo, Y., Singhakowinta, J., & Ma, K. (2023). Knowledge graph analysis of smart learning trends in Thailand. In C. Anutariya, D. Liu, Kinshuk, A. Tlili, J. Yang, & M. Chang (Eds.), Smart learning for a sustainable society. ICSLE 2023. Lecture Notes in Educational Technology. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-99-5961-7_2