ab h

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จเร สิงหโกวินท์

คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร

ตำแหน่งบริหาร: คณบดี

ดาวน์โหลด CV

ประวัติ

ดร. จเร สิงหโกวินท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา สังคมวิทยา จาก Goldsmiths College, University of London ในปี พ.ศ. 2553  ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดร. จเร สิงหโกวินท์ ได้รับเชิญสอนวิชาเกี่ยวกับ ทฤษฎีเควียร์ สตรีนิยมฝรั่งเศส และ การเมืองเรื่องเพศวิถีและเควียร์ศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

ระหว่างปี พ.ศ. 2564-2565 ดร. จเร สิงหโกวินท์ ร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดเวทีวิชาการทางสังคมเพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยแห่งอนาคต (Social Forum) ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สถานการณ์และความท้าทายของคนไทยในต่างประเทศในยุคหลัง covid-19” ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เพื่อสะท้อน ประเด็น ปัญหาที่ผู้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไทยเผชิญอยู่ นอกจากนี้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ได้จัดเวทีวิชาการทางสังคมเพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยแห่งอนาคต (Social Forum) ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อคุ้มครองและเสริมสร้างพลังสตรีและครอบครัว” และ “สิทธิความเสมอภาคของกลุ่ม LGBTQ กับความเป็นธรรมทางสังคม” นับเป็นการให้ความสำคัญต่อประเด็นเร่งด่วน เรื่อง นโยบายสาธารณะ และสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มชายขอบทางสังคม

 

ดร. จเร สิงหโกวินท์ ยังมีงานวิจัยร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในประเด็นร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อและวัฒนธรรม  โดยศึกษาบทบาทของแนวคิดเสรีนิยมใหม่กับวัฒนธรรมประชานิยม ในการสร้างภาพแทนทางเพศในละครวายไทย และการวิเคราะห์กระบวนการสร้างวาทกรรม “สื่อเป็นกลาง” ในสังคมไทย ดร. จเร สิงหโกวินท์ ทำงานวิจัยครอบคลุมประเด็นด้าน อำนาจทับซ้อนและวัฒนธรรมศึกษา เพศสภาพและทฤษฎีเควียร์ เพศสภาพและการพัฒนา สื่อและวัฒนธรรมประชานิยม บทความวิจัยที่เสร็จสิ้นล่าสุด ชื่อว่า "การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในนโยบายการพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย: ความเท่าเทียมกับความแตกต่าง" มีกำหนดตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2568 ปัจจุบันกำลังดำเนินโครงการวิจัย 2 ปี ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในหัวข้อ "ปัจจัยและอุปสรรคในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในครอบครัวและการขับเคลื่อนการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในครอบครัว"

การศึกษา:

2010 - ปริญญาเอก สังคมวิทยา Goldsmiths College, University of London สหราชอาณาจักร

2003 - ปริญญาโท เพศวิทยา วัฒนธรรม และความทันสมัย Goldsmiths College, University of London สหราชอาณาจักร

1998 - ปริญญาตรีเกียรตินิยม ภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

 

ทุนการศึกษา:

พ.ศ. 2545 - 2553 ทุนรัฐบาลไทย เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก ณ สหราชอาณาจักร

 

งานวิจัยที่สนใจ:

  • สังคมวิทยา
  • ทฤษฎีสังคม
  • การพัฒนาทางเลือก
  • สังคมวิทยาการเมืองและขบวนการขับเคลื่อนสังคม
  • คนพลัดถิ่นและนโยบายสังคม
  • การเมืองเรื่องอัตลักษณ์และอำนาจซ้อนทับ
  • วัฒนธรรมและสื่อศึกษา
  • เพศสภาพและเพศวิถีศึกษา
  • ทฤษฎีเควียร์และการเมือง
  • ไทยศึกษาและเอเชียศึกษา

 

ตำแหน่งบริหารที่ผ่านมา:

  • ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนาสังคม
  • คณบดี คณะภาษาและการสื่อสาร
  • บรรณาธิการบริหาร วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร
  • ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตภาษาและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ)
  • รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะภาษาและการสื่อสาร
  • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะภาษาและการสื่อสาร

ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์

           

วารสารวิชาการ

  • Amponpeerapan, M., & Singhakowinta, J. (2022). Confrontations and exchanges of virtue ethics:

A study of dialectical friendship between Superman and Batman in comic books. Journal of Comics and Graphic Novels and Comic, 13(3), 408-431. https://doi.org/10.1080/21504857.2021.1925719

  • Punkasirikul, P., & Singhakowinta, J. (2019). The analysis of linguistic features in annuity advertisements. Journal of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University, 36(1), 67-106.
  • Singhakowinta, J. (2014). Media valorization of feminine beauty in Thai public discourse. Kasetsart Journal of Social Sciences, 35(2), 337-345.
  • Singhakowinta, J. (2016). New lad: Re-packaged masculinity in men’s lifestyle magazines. NIDA Journal of Language and Communication, 21(28), 109-124.
  • Singhakowinta, J. (2016). Reinventing sexual identities: Thai gay men’s pursuit of social acceptance. NIDA Journal of Language and Communication, 21(27), 14-40.
  • Singhakowinta, J. (Forthcoming - 2024). Paradigm shift in gender equality development policy in Thailand: Parity versus differences. NIDA Case Research Journal, xx(x), xxx.
  • Srivilas, C., & Singhakowinta, J. (2015). Gender differences in face concerns and behavioral responses to romantic jealousy. NIDA Journal of Language and Communication, 20(25),127-152.
  • เกศราภรณ์ เขียวรอด และ จเร สิงหโกวินท์. (2563). ความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรสายปฏิบัติการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 79-95.
  • จเร สิงหโกวินท์. (2556). สื่อฯ ตีตรา: การผลิตซ้ำมายาคติ เกย์ ในสังคมไทย. วารสาร NIDA ภาษาและการสื่อสาร, 18(20), 64-76.
  • เชิดพงษ์ วาณิชยานนท์ และ จเร สิงหโกวินท์. (2566). ดัชนีอยู่เย็นเป็นสุขกับการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 25(2), 161-186.

           

บทความในหนังสือ

  • จเร สิงหโกวินท์. (2560). ถอดผ้าขายร่างในละครสาววาย. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ), เมื่อร่างกายเป็นเพศ: อำนาจเสรีนิยมใหม่ ของเพศวิถีในสังคมไทย (หน้า 150-187). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
  • จเร สิงหโกวินท์. (2565). สื่อในรัฐไทยกับมายาคติความเป็นกลาง. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ), ส่องอคติ เล่มที่ 1 (หน้า 337-392). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

           

รายงานการประชุมวิชาการ

  • Duangthong, T., & Singhakowinta, J. (2019). Linguistic expression and sexual identity in Carol (2015). The 7th International Conference on Advancement of Development Administration 2018: Social Sciences and Interdisciplinary Studies Proceedings (pp. 1-11). Bangkok: National Institute of Development Administration.
  • Singhakowinta, J. (2011). Politics of negotiations: Thai gay men’s appropriation of public space. The Asian Conference on Cultural Studies 2011 Proceedings (pp. 84-96). Osaka: The International Academic Forum.
  • Singhakowinta, J. (2012). Communicating intimate equality: Thailand and the recognition of same-sex love. The 4th International Conference on Language and Communication 2012 Proceedings  (pp. 334-339). Bangkok: Graduate School of Language and Communication.
  • จเร สิงหโกวินท์. (2558). อคติทางสังคมกับการสร้างตัวละครเกย์. รายงานสืบเนื่องการประชุมระดับชาติ เนื่องในวาระครบรอบปีที่ 49 แห่งการสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (หน้า 500-519). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
  • Zuo, Y., Singhakowinta, J., & Ma, K. (2023). Knowledge graph analysis of smart learning trends in Thailand. In C. Anutariya, D. Liu, Kinshuk, A. Tlili, J. Yang, & M. Chang (Eds.), Smart learning for a sustainable society. ICSLE 2023. Lecture Notes in Educational Technology. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-99-5961-7_2