ab h

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ร่วมพูดคุยประเด็น บทบาทของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์เเห่งชาติที่มีต่อการแก้ปัญหา​ฝุ่นควัน​ภาคเหนือ

03 เมษายน 2023 / 303 views

บทบาทของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์เเห่งชาติที่มีต่อการแก้ปัญหา​ฝุ่นควัน​ภาคเหนือ

: ศกพ.  (18/01/2021)

 

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ โฆษก ศกพ.

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ร่วมพูดคุยประเด็น บทบาทของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์เเห่งชาติที่มีต่อการแก้ปัญหา​ฝุ่นควัน​ภาคเหนือ

 

Credit : เพจ ศกพ. ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

 
 
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ด้านเคมีอากาศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับอิทธิพลของพืชที่มีต่อการปลดปล่อยของสารเคมีจำพวก โมโนเทอปีน (Monoterpene) ไอโซพรีน (Isoprene) ตลอดจนไดเมทิลซัลไฟด์ (Dimethyl Sulfide – DMS) ซึ่งสารเคมีพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ระเหยทางชีวภาพ (BVOCs) โดยที่สารเคมีทั้งสองตัวนี้ทำปฏิกิริยากับ OH radical, NOx, และ Ozone ในบรรยากาศเมื่อมีแสงอาทิตย์ ผลจากการทำปฏิกิริยาดังกล่าวส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองลอยที่เรียกว่า Secondary Organic Aerosols หรือ SOA ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนนึงของ PM2.5 และมีผลอย่างมากต่อการก่อให้เกิด Cloud Condensed Nuclei หรือแกนกลั่นเมฆ ซึ่งเชื่อมโยงกับปริมาณของก้อนเมฆโดยตรง หากปริมาณของก้อนเมฆเพิ่มมากขึ้นพื้นที่สีขาวก็จะเพิ่มมากขึ้นและประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับสู่อวกาศก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกด้วย

 

Over the past few decades, atmospheric scientists pay more attentions on the impacts of biogenic volatile organic compounds (BVOCs) such as monoterpene, isoprene and dimethyl sulfide (DMS) as precursors of ultrafine particles. These BVOCs can react with OH radical, NOx, and O3 under the sunlight (i.e. photochemical reaction) and form cloud condensed nuclei (CCN) which will subsequently form the cloud that can reflect the sunlight back to the space. The increasing number of CCN can dramatically enhance the amount of cloud which is the key factor for governing the global temperature.